จังหวัดชัยภูมิ เป็นเมื่องที่เกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชโดยมีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเมืองนครราชสีมาคู่กับเมืองบุรีรัมย์มาปรากฎชื่อทางประวัติศาสตร์อีกครั้ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเลิศหล้านภาลัย ให้มีชาวเมืองเวียงจันทน์มีนายแลเป็นหัวหน้าพากันมาตั้งหลักปักฐานในบริเวณที่เรียกว่า โนนน้ำอ้อม และคงใช้ชื่อเมืองตามเมืองเดิมว่าชัยภูมิในสมเด็จพระนั้งเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ 2369 เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทนื ก่อการกบฎยกกองทัพเข้ามาตีเมืองนครราชสีมาและหัวเมืองรายทาง นายแลเจ้าเมืองรายทาง นายแลเจ้าเมืองชัยภูมิได้ยกไพร่พลไปสมทบกับกำลังของคุณหญิงโม ตีทัพของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทรืแตกพ่ายไปได้ สมเด็จพระนั้งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าน ให้คุณหญิงดมเป็นท้าวสุรนารี และให้นายแลเป็นพระยาภักดีชุมพล เจ้าเมืองชัยภูมิคนต่อมาที่สืบเชื้อสายมาจากพระยาภักดีชุมพล (แล) ก็ยังคงใช้ราชทินนามว่า พระยาภักดีชุมพล ในปัจจุบัน ชัยภูมิเป็นจังหวัดที่น่าท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของภาคอีสาน ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของจังหวัดชัยภูมิคือ ผ้าไหม ผ้าฝ้าย มัดหมี่ หมอนขิต ผ้าขิต และสินค้าเมืองที่ทำจาก ผ้าทอมือ เป็นต้น
การปกครอง ชัยภูมิอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 342 กิโลเมตรมีเนื้อที่ประมาณ 12,778.287 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองเป็น 14 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมืองชัยภูมิ อำเภอบ้านเขว้า อำเภอคอนสวรรค์ อำเภอเกษตรสมบูรณ์ อำเภอหนองบัวแดง อำเภอจัตุรัส อำเภอภูเขียว อำเภอบำเหน็จณรงค์ อำเภอบ้านแท่น อำเภอแก้งคร้อ อำเภอคอนสาร อำเภอเทพสถิต อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอภักดีชุมพล และกิ่งอำเภอเนินสง่า
อาณาเขต ทิศเหนือ จดจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดขอนแก่น ทิศใต้ จดจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันออก จดจังหวัดขอนแก่น และจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตก จดจังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดลพบุรี
การเดินทาง รถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านรังสิตวังน้อย จนถึงสามแยกจังหวัดสระบุรีเลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) แล้วแยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 201 ที่อำเภอสีคิ้ว อำเภอด่านขุนทด เข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ รวมระยะทางประมาณ 342 กิโลเมตร จากจังหวัดนครราชสีมา เดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ-ขอนแก่น) ผ่านตำบลจอหอ เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 205 ผ่านอำเภอโนนไทย ตรงไปจนถึงสี่แยกตำบลหนองบัวโคก อำเภอจัตุรัส เลี้ยยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 201 เข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ รวมระยะทาง 119 กิโลเมตร รถโดยสาร บริษัทขนส่ง จำกัด เปิดบริการเดินรถ กรุงเทพฯ ชัยภูมิ ทุกวัน ติดต่อขอรายละเอียดได้ที่ สถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 โทร. 936-2852-66 รถไฟ จากสถานีรถไฟกรุงเทพฯ(หัวลำโพง)มีรถด่วนรถเร็วกรุงเทพฯ-หนองคาย บริการทุกวันโดยลงที่สถานีบัวใหญ่ จากนั้นสามารถต่อรถโดยสารประจำทางที่สถานีเดินรถไปอีก 51 กิโลเมตรรายละเอียดเพิ่มเติมสอบถามได้ที่ แผนกบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 223-7010, 223-7020 เครื่องบิน บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) ยังไม่มีบริการเที่ยวบินไปจังหวัดชัยภูมิ หากประสงค์จะเดินทางไปโดยเครื่องบินจะต้องลงที่จังหวัดขอนแก่น จากนั้นสามารถต่อรถโดยสารจากจังหวัดขอนแก่นย้อนกลับเข้าชัยภูมิ ระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตรหรือจะลงที่จังหวัดนครราชสีมา แล้วต่อรถโดยสารเข้าจังหวัดชัยภูมิประมาณ 119 กิโลเมตร รายละเอียดติดต่อสอบถามกได้ที่บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) โทร. 280-0060, 628-2000
ระยะทางจากอำเภอเมืองชัยภูมิ ไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่าง ๆ อำเภอเมืองชัยภูมิ - อำเภอบ้านเขว้า 13 กิโลเมตร อำเภอเมืองชัยภูมิ - อำเภอหนองบัวระเหว 33 กิโลเมตร อำเภอเมืองชัยภูมิ - อำเภอดอนสวรรค์ 38 กิโลเมตร อำเภอเมืองชัยภูมิ - อำเภอจัตุรัส 39 กิโลเมตร อำเภอเมืองชัยภูมิ - อำเภอแก้งคร้อ 45 กิโลเมตร อำเภอเมืองชัยภูมิ - อำเภอหนองบัวแดง 53 กิโลเมตร อำเภอเมืองชัยภูมิ - อำเภอบำเหน็จณรงค์ 58 กิโลเมตร อำเภอเมืองชัยภูมิ - อำเภอภูเขียว 77 กิโลเมตร อำเภอเมืองชัยภูมิ - อำเภอบ้านแท่น 81 กิโลเมตร อำเภอเมืองชัยภูมิ - อำเภอภักดีชุมพล 85 กิโลเมตร อำเภอเมืองชัยภูมิ - อำเภอเกษตรสมบูรณ์ 90 กิโลเมตร อำเภอเมืองชัยภูมิ - อำเภอเทพสถิต 105 กิโลเมตร อำเภอเมืองชัยภูมิ - กิ่งอำเภอเนินสง่า 30 กิโลเมตร
ชัยภูมิมีสินค้าพื้นเมืองและสินค้าที่ระลึกที่คนต่างถิ่นรู้จักมานานแล้ว นั่นคือ ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าฝ้ายพื้นเมืองหมอนสามเหลี่ยม ผ้าขิต และสินค้าพื้นเมืองที่ทำจากผ้าทอมากมายนอกจากนี้ยังมีไส้กรอกพื้นเมืองรสชาติเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดซึ่งไม่มีที่ใดเหมือน เครื่องจักสานต่างๆ ล้วนฝีมือปราณีตน่าใช้ทั้งสิ้น
ประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ ประมาณร้อยละ 95 เป็นคนท้องถิ่นเดิม มีวัฒนธรรมประเพณีซึ่งมีลักษณะผสมผสานระหว่างความเชื่อดั้งเดิมของท้องถิ่นกับหลักปฎิบัติทางพุทธศาสนาประกอบกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของจังหวัดมีลักษณะเด่นชัดที่เน้นและเชิดชูวีรกรรมความซื่อสัตย์กตัญญูของเจ้าพ่อพระยาแล ทำให้มีงานประจำ และงานประเพณี ซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมของจังหวัดดังต่อไปนี้ งานประจำปี ฉลองอนุสาวรีย์เจ้าพระยาแล จัดขึ้นเพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของเจ้าพ่อพระยาแลผู้สร้างเมืองชัยภูมิคนแรกจัดระหว่างวันที่ 12-20 มกราคมของทุกปี ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดและสี่แยกอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล ในการจัดงานนี้ประกอบด้วยพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณของเจ้าพ่อพระยาแล ขบวนแห่สักการะอนุสาวรีย์เจ้าพ่อ ขบวนถวายช้างแด่เจ้าพ่อ และขบวนแห่ของอำเภอต่างๆ รวมทั้งการออกร้านจัดนิทรรศการของหน่วยราชการและเอกชน การประกวดผลิตผลทางการเกษตร งานประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อพระยาแล ที่บริเวณศาลหนองปลาเฒ่า จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-20 พฤษภาคม ของทุกปีชาวบ้านจะไปเคารพสักการะดวงวิญญาณของเจ้าพ่อ และรำถวายเจ้าพ่อที่ศาลหลังเก่ากันเป็นจำนวนมาก ประเพณีรำผีฟ้า เป็นการรำบวงสรวงเป็นกลุ่มๆ ที่ภูพระซึ่งมีพระเจ้าองค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปแกะสลักในหินทราย สูงประมาณ 2 เมตร ชาวบ้านถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก การรำบวงสรวงนี้จะมีขึ้นในระหว่างวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 5 คือเดือนเมษายน และวันเข้าพรรษา ออกพรรษา ซึ่งจะมีประชาชนไปทำบุญกันมาก งานแห่เทียนเข้าพรรษา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 (ประมาณเดือนกรกฎาคม) เป็นงานที่เทศบาลเมืองชัยภูมิจัดขึ้นทุกปีมีการประกวดเทียนพรรษาที่ประดิษฐ์อย่างสวยงาม เป็นงานที่มีประชาชนให้ความสนใจไม่แพ้งานแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี นอกจากนี้ยังมีงานประเพณีอื่นๆ ที่จัดเป็นประจำทุกปี เช่นเดียวกับจังหวัดในภาคอีสาน เช่นงานบุญบั้งไฟ หรือบุญเดือนหก ประมาณเดือนพฤษภาคม งานบุญข้าวจี่ เป็นการฉลองเมื่อเสร็จสิ้นการทำนา ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ งานบุญกพระเวช หรืองานบุญเดือนสี่ ประมาณเดือนมีนาคม มีการเทศน์มหาชาติ
สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ 811573 ที่ว่าการอำเภอเมืองชัยภูมิ 822004 โรงพยาบาลชัยภูมิ 811005,811644 สถานีขนส่งจังหวัดชัยภูมิ 811344 สถานีตำรวจจังหวัดชัยภูมิ 811242