การคมนาคม ทางรถยนต์ แม่ฮ่องสอนในอดีตเคยเป็นเมืองที่เร้นลับและแสนทุรกันดารในสายตาของนักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไป เนื่องจากเดิมนั้นการเดินทางเข้าสู่จังหวัดแม่ฮ่องสอนมีถนนเพียงสายเดียว คือ ทางหลวงหมายเลข 108 ซึ่งตัดจากจังหวัดเชียงใหม่ ผ่านอําเภอหางดง อําเภอสันป่าตอง อําเภอจอมทอง อําเภอฮอด อําเภอแม่สะเรียง อําเภอแม่ลาน้อย และอําเภอขุนยวม มาถึง อําเภอเมืองแม่ฮ่องสอน รวมระยะทางประมาณ 349 กิโลเมตร เส้นทางสายนี้เป็นทางตัดขึ้นเขาสูงมีความสวยงามและมีความคดโค้ง นับได้มากถึง 1,864 โค้ง ในปัจจุบันมีถนนจากจังหวัดเชียงใหม่ ถึงแม่ฮ่องสอนเพิ่มขึ้นอีกสายหนึ่ง คือทางหลวงหมายเลข 1095 หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า เส้นทางสายแม่มาลัย-ปาย ตัดจากอําเภอ แม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ถึงอําเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนได้กว่า ร้อยกิโลเมตร เหลือระยะทางเพียง 245 กิโลเมตร นอกจากนี้ เส้นทางนี้ยังเป็นเส้นทางผ่านไปยังสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ด้วย อาทิ ห้วยน้ำดัง และถ้ำต่างๆ ปัจจุบันเป็นถนนราดยางอย่างดีตลอดสาย และหากนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางจากจังหวัดตากไปยังจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยไม่แวะเข้าจังหวัดเชียงใหม่ก็สามารถเดินทางได้ตามทางหลวงหมายเลข 105 ผ่านอําเภอแม่สอด-แม่ระมาด-ท่าสองยาง ถึงอําเภอแม่สะเรียง มีระยะทางประมาณ 300 กิโลเมตร เป็นทางราดยาง
รถโดยสารประจําทาง จากกรุงเทพฯ มีบริการรถโดยสารไปแม่ฮ่องสอนดังนี้ รถโดยสารธรรมดา บริษัท ถาวรฟาร์ม มีรถบริการทุกวัน โดยจะออกจากสถานีขนส่งสายเหนือถนนกําแพงเพชร2วันละ1เที่ยว คือ 19.00 น. อัตราค่าโดยสาร 245 บาท รายละเอียดติดต่อ โทร.936-3660, 936-3666
รถปรับอากาศ มีรถเอกชนวิ่งบริการใช้เวลาเดินทางประมาณ 17 ชั่วโมง มีรถออกจากสถานีขนส่งสายเหนือทุกวัน เวลา 18.00 น. รายละเอียดติดต่อ บริษัท เมืองเหนือยานยนต์ทัวร์ โทร. 01-441-6871 หรือสํานักงาน แม่ฮ่องสอน โทร. (053) 611514 จากเชียงใหม่ มีรถโดยสารประจําทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ วิ่งบริการ 2 เส้นทางคือ สายเชียงใหม่-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน ( ทางหลวงหมายเลข 108 ) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 06.30-21.00 น. ใช้เวลาเดินทางถึงอําเภอแม่สะเรียง 4 ชั่วโมง ถึงแม่ฮ่องสอน 8 ชั่วโมง สายเชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน ( ทางหลวงหมายเลข 107 และ 1095) มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา 07.00-12.30 น.ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 6 ชั่วโมง รายละเอียดติดต่อ บริษัทเปรมประชาขนส่ง จํากัด โทร. (053) 244737, 242767
เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จํากัด มีบริการเท่กยวบินระหว่างกรุงเทพฯ - เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ทุกวัน รายละเอียดติดต่อ โทร. 280-0070-90,628-2000 สํานักงานเชียงใหม่ โทร. (053) 210043-5, 211044-7 สํานักงานแม่ฮ่องสอน โทร. (053) 611297, 611194
งานประเพณีปอยสางลอง หรือ งานบวชลูกแก้ว เป็น ประเพณีบวชเณรตามธรรมเนียมของชาวไทยใหญ่ เพื่อให้บุตรหลานได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและ มีความเชื่อว่าจะได้รับบุญกุศลจากการบวชสามเณร งานนี้จัดให้มีขึ้น ช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ช่วงปิดเทอมฤดูร้อน โดยชาวบ้านจะตกลงกันกําหนดวันนัดหมายให้ลูกหลานได้บวชเรียนพร้อมๆกัน มีการประดับประดาผู้ที่จะบวชด้วยเครื่องประดับมีค่าอย่างสวยงาม และประกอบพิธีบวชตามวัดที่เจ้าภาพศรัทธา แต่เดิมปอยสางลองเป็นประเพณีท่ทจัดเฉพาะในหม่ดญาติมิตร ของเจ้าภาพ ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2525 ได้เกิดมีแนวความคิดใหม่ โดยจัดเป็นบรรพชาหมู่รวมกันมากถึง 200 รูป เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ทําให้ในเขตอําเภอเมือง แม่ฮ่องสอนนิยมจัดบรรพชาหมู่สืบต่อมาถึงปัจจุบัน ปอยสางลอง จึงได้กลายเป็นประเพณีที่จูงใจให้มีผู้สนใจมากขึ้นกว่าแต่ก่อน
งานประเพณีจองพารา คือประเพณีส่วนหนึ่งในงานเทศกาลออกพรรษา (งานปอยเหลินสิบเอ็ด) คําว่า จองพารา เป็นภาษาไทยใหญ่แปลว่า ปราสาทพระ การบูชาจองพารา คือการสร้างปราสาทเพื่อคอยรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่จะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศกาลนี้จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 โดยก่อนถึงวันงานจะมีการจัดงานตลาดนัด ออกพรรษามีการนําสินค้าต่างๆ ที่จะใช้ในการทําบุญ เช่น อาหาร ขนมดอกไม้เครื่องไทยทานมาวางขายเพื่อให้ชาวบานได้หาซื้อข้าวของ เครื่องใช้ในการเตรียมงาน และมีการจัดเตรียมสร้าง จองพารา ซึ่งเป็นปราสาทจําลอง ทําด้วยโครงไม้ไผ่ ประดับลวดลายด้วยกระดาษสา กระดาษสีต่างๆ หน่อกล้วย อ้อยและโคมไฟ ตกแต่งอย่างสวยงาม เพื่อใช้สมมติเป็นปราสาทรับเสด็จพระพุทธองค์จากสวรรค์ จากนั้นก็จะยก จองพารา ขึ้นไว้นอกชายคา นอกรั้ว หรือบริเวณกลางลานทั้งที่บ้านและที่วัด ในวันข้ดน 15 ค่ำ อันเป็นวันออกพรรษานั้น ต้องแต่เช้าตรู่ ประชาชนพร้อมใจกันไปทําบุญตามวัด บางวัดจัดให้มีการตักบาตรเทโว ส่วนในตอนเย็นจะนําดอกไม้ธูปเทียนและขนมข้าวต้มไปขอขมาบิดามารดา และญาติผู้ใหญ่ ก่อนย่ำรุ่งของวันแรม 1 ค่ำ จะมีพิธี ซ้อมต่อ คือการอุทิศ เครื่องเซ่น แก่สิ่งที่ชาวไตถือว่ามีบุญคุณในการดําเนินชีวิต โดยนํา กระทงอาหารเล็กๆ ที่จุดเทียนติดไว้ด้วยไปตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ แสงประทีปนับร้อยนับพันดวงตามวัดสถูปและบ้านเรือนในตอนใกล้รุ่ง เป็นภาพที่งดงามนาประทับใจมาก ตลอดระยะเวลาของการจัดงานต้ดงแต่แรม1ค่ำไปจนถึงแรม 8 ค่ำ จะมีการถวายข้าวที่จองพาราวันละครั้งและจุดเทียนหรือ ประทีปโคมไฟไว้ตลอดในช่วงเวลาตลอดเทศกาล จะมีการละเล่น เฉลิมฉลองหลายชนิด เช่น ฟ้อนโต ฟ้อนรูปสัตว์ต่างๆ ฟ้อนกาแล้ว (ฟ้อนดาบ) เฮ็ดกวาม ฯลฯ ตามถนนหนทางและบ้านเรือนต่างๆ เป็นการละเล่นที่สืบเนื่องมาจากความเชื่อว่าสัตว์โลกและ สัตว์หิมพานต์ พากันรื่นเริงยินดีออกมาร่ายรําเป็นพุทธรูปรับเสด็จ
ก่อนจะถึงวันแรม 8 ค่ำ จะมีพิธี "หลู่เต้นเหง" คือ การถวาย เทียนพันเล่ม โดยแห่ต้นเทียนไปถวายที่วัด และใน "วันกอยจ้อด" คือวันแรม 8 ค่ำ อันเป็นวันสุดทายของเทศกาลออกพรรษา จะมีพิธีถวายไม้เกี๊ยะ โดยนําฟืนจากไม้เกี๊ยะ (สนภูเขา) มามัดรวมกันเป็นต้นสูงประมาณไม่ต่ำกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ไม่ต่ำกว่า 30 เซ็นติเมตร แล้วนําเข้าขบวนแห่ประกอบด้วย ฟ้อนรูปสัตวต่างๆ และเครื่องประโคมไปทําพิธีจุดถวายเป็นพุทธบูชาที่ลานวัด เป็นอันสิ้นสุดเทศกาลออกพรรษาของชาวไต ประเพณีลอยกระทง หรือ งานเหลินสิบสอง จัดขึ้นในวันเพ็ญ เดือนสิบสอง โดยชาวบ้านจะจัดทํากระทงเล็กๆ ไปลอยตามแม่น้ำ มีการประกวดกระทงใหญ่ที่หนองจองคํา ซึ่งเป็นหนองน้ำสาธารณะ กลางเมือง มีการแสดงมหรสพรื่นเริง ตามบ้านเรือนจะมีการ จุดประทีปโคมไฟสว่างไสว นอกจากนี้ยังมีการลอยกระทงสวรรค์ โดยนํากระทงที่จุดประทีปโคมไฟแล้วผูกติดกับลูกโปงลอยขึ้นไป ในอากาศ พิธีนี้จัดขึ้นที่วัดพระธาตุดอยกองมู
นอกจากนี้ยังมีศิลปะท่งน่าสนใจของชาวไตคือศิลปะการแสดงและดนตรีซึ่งแตกต่างจากของล้านนา และมักจะนําเข้ามารวม ในงานบุญงานแห่ต่างๆ อยู่เสมอ อาทิ ฟ้อนกิงกะหลา หรือฟ้อนกินรี ซึ่งได้รับความนิยมที่สุด ผู้แสดงจะใส่ปีกใส่หางบินร่ายรํา นอกจากนี้ ยังมีการฟ้อนตัวสัตว์ต่างๆที่มีความเชื่อว่าอาศัยอยู่ที่ป่าหิมพานต์เช่น ฟ้อนนก ฟ้อนผีเสื้อ ฟ้อนม้า เป็นต้น
"ฟ้อนโต" เป็นการแสดงที่นิยมกันอีกชุดหนึ่ง ตัวโตนั้น เชื่อกันว่าเป็นสัตว์ป่าในหิมพานต์ชนิดหนึ่ง มีเขาคล้ายกวาง และมีขนยาวคล้ายจามรีมีลักษณะร่ายรําคลายการเชิดสิงโตของจีน
นอกจากนี้ ยังมีการแสดงอื่นๆ อีกหลายชุด ได้แก่ " ฟ้อนดาบ" หรือที่เรียกว่า ฟ้อนก้าแลว "ฟ้อนไต" เป็นการฟ้อนต้อนรับผู้มาเยือน รําหมอง "ส่วยยี" เป็นการรําออกท่าทางคล้ายพม่า และ "มองเซิง" เป็นการรําประกอบเสียงกลองมองเซิง
งานเทศกาลชิมชาบ้านไท จัดข้มนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ บริเวรหมู่บ้านรักไทหมู่ 6 ตําบลหมอกจําแป อําเภอเมืองหมู่บ้านรักไท เป็นหมู่บ้านชายแดน อยู่ในความควบคุมของกองทัพภาคที่ 3 ราษฏรมีอาชีพปลูกชาเป็นหลักมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศเดินทางขึ้นไปเที่ยวเป็นจํานวนมาก การจัดงานเทศกาลชิมชานี้ เพื่อเป็นกาลสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกชาและส่งเสริมการท่องเที่ยวของหมู่บ้าน ภายในงานมีการขี่ม้ารอบหมู่บ้าน เที่ยวชมธรรมชาติ ชิมชาชั้นดี ชมการแสดงจากชาวจีนยูนาน และการละเล่นพื้นบ้าน
งานเทศกาลดอกบัวตอง จะจัดขึ้นประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ดอกบัวตอง เป็นดอกไม้ป่าสีเหลือง คล้ายดอกทานตะวันแต่ขนาดเล็กกว่า มักขึ้นอยู่ตามป่าเขาสูง ทางตอนเหนือของประเทศไทย ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนจะมีมากที่บริเวณบ้านแม่เหาะ อําเภอแม่สะเรียง และดอยแม่อูคอ อําเภอขุนยวมเมื่อถึงระยะที่ดอกบัวตองบานตามริมเส้นทางตลอดจน ภูเขาที่สลับซับซ้อนกันอยู่นั้นจะเป็นสีเหลืองสว่างไสวไปด้วยสีของดอกบัวตอง ดูงดงามมากทางจังหวัดแม่ฮ่องสอนจึงได้จัดงานเทศกาล บัวตองบานขึ้นเพื่อเป็นการชมความงามของธรรมชาติ และชม วัฒนธรรมประเพณีของชาวไต และชาวไทยภูเขา โดยจะจัดที่ บริเวณอําเภอขุนยวม ในงานมีการละเล่นและมหรสพทั้งของพื้นเมืองและร่วมสมัย มีการประกวดธิดาบัวตอง การแสดงศิลปวัฒนธรรมชาวไทยภูเขา การแสดงสินค้าพื้นเมือง การแข่งขันกีฬาชาวดอย ฯลฯ ตลอดจนนิทรรศการต่างๆ และการนําเที่ยวชมดอกบัวตอง บนดอยแม่อูคอ