จังหวัดหนองคาย เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ตรงกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปรากฏหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์ และมนุษยวิทยา ว่าอาณาเขตจังหวัดหนองคายเคยเป็นดินแดนที่มีผู้คนอาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่เจริญญรุ่งเรือง มีอารยธรรมสู่งส่งมาก่อนสมัยประวัติศาสตร์ และคาบเกี่ยวกับสมัยประวัติศาสตร์ ทําให้หนองคายเป็นเมืองที่มีมรดกทางวัฒนธรรมของชนชาติโบราณมากมาย ดังปรากฏร่องรอยให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น ภาพเขียนสีที่ถ้ำฝ่ามือแดง อําเภอภูเวียง เมืองโบราณสมัยทวาราวดี ที่อําเภอชุมแพ เสมาหินที่เมืองชัยวาน อําเภอมัจาคีรีและศาสนสถานสมัยขอมที่อําเภอเปือยน้อย จัดเป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่พบในจังหวัดหนองคายและอยู่ในสภาพสมบูรณ์มาก ปัจจุบันหนองคายเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและโบราณสถานมากมาย มีความเจริญรุ่งเรืองในด้านต่างๆ เป็นศูนย์กลางทางการศึกษา คือ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยหนองคาย มีวัฒนธรรมและประเพณีต่างๆ มีผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวและผู้มาเยือน เช่น ผ้าไหมมัดหมี่ที่อําเภอชนบทนอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามและสะดวกในการคมนาคมตลอดปี
ในปี พ.ศ. 2369 สมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าอนุวงศ์แห่งเมืองเวียงจันทน์กบฏไม่ยอมขึ้นกับไทยอีก และได้ยกกองทัพมากวาดต้อนผู้คนในเขตแดนไทยกลับไป ในการปราบกบฏดังกล่าว ท้าวสุวอธรรมาได้ยกทัพจากเมืองยโสธรมาช่วยกองทัพที่ยกไปจากกรุงเทพฯ จนสามารถมีชัยเหนือเจ้าอนุวงศ์ และจับกุมตัวลงมากรุงเทพฯ ได้สําเร็จ รัชกาลที่ 3 จึงพระราชทานบําเหน็จให้ท้าวสุวอธรรมาเลือกทําเลที่จะสร้างเมืองขึ้นรวม 4 แห่งซึ่งในที่สุดท้าวสุวอธรรมาได้เลือกสร้างเมืองที่บ้านไผ่ เรียกชื่อว่า เมืองหนองคาย เมื่อ พ.ศ. 2370 พ.ศ. 2434 เมืองหนองคายได้เป็นสถานที่ตั้งมณฑลลาวพรวน จนกระทั่งพ.ศ.2436จึงได้ย้ายไปตั้งที่ทําการมณฑลที่บ้านหมากแข้ง เนื่องจากได้เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศสต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ได้จัดตั้งมณฑลอุดรขึ้นที่บ้านหมากแข้ง เมืองหนองคาย จึงมีฐานะเป็นเมืองหนึ่งของมณฑลอุดร หลังจากยกเลิกการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลในปี พ.ศ. 2476 จังหวัดหนองคายซึ่งขึ้นกับมณฑลอุดรได้แยกตัวออกมาเป็น จังหวัดหนองคายในปัจจุบัน หนองคายเป็นจังหวัดชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยตั้งอยู่บริเวณฝั่งขวาของแม่น้ำโขงตรงข้ามกับท่าเดื่อ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีพื้นที่ประมาณ 7,739.28 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ โดยทั่วไป ทิศเหนือเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ทิศตะวันออกเป็นที่สูง และป่าโปร่ง ทิศตะวันตกเป็นภูเขาและป่า ติดต่อกันถึงเขตจังหวัดเลย ด้านทิศใต้เป็นที่สูง มีระดับความสูงโดยเฉลี่ย 1,200 ฟุต จากระดับน้ำทะเล ฤดูกาลในจังหวัดหนองคายมี3ฤดูในฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัด อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 35 ํC. ในฤดูฝนจะมีฝนตกหนัก เนื่องจากมีภูมิประเทศอยู่ติดกับแม่น้ำโขง ในฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่สูง อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 11 ํC.
อาณาเขตและการปกครอง ทิศเหนือ จดแม่น้ำโขงอันเป็นเส้นกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ จดจังหวัดอุดรธานี สกลนคร ทิศตะวันออก จดจังหวัดนครพนม ทิศตะวันตก จดจังหวัดเลย
จังหวัดหนองคาย จังหวัดหนองคายมีกี่อําเภอ แบ่งเขตการปกครองอย่างไร จังหวัดหนองคาย มี 17 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอโซ่พิสัย อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม อำเภอโพนพิสัย อำเภอปากคาด อำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล อำเภอบุ่งคล้า อำเภอสระใคร อำเภอเฝ้าไร่ อำเภอรัตนวาปี อำเภอโพธิ์ตาก
การเดินทางไปจังหวัดหนองคาย ทางรถยนต์ จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหมายเลข 1 ผ่านสระบุรี แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 2 ผ่านนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี หนองคายรวมระยะทางทั้งสิ้น 615 กิโลเมตร
รถโดยสาร บริษัท ขนส่ง จํากัด จัดรถวิ่งระหว่างกรุงเทพฯ หนองคาย ทุกวัน ทั้งรถธรรมดาและรถปรับอากาศ รายละเอียด ติดต่อได้ที่ โทร. 936-2852-66 การรถไฟแห่งประเทศไทย มีขบวนรถไฟจากกรุงเทพฯ หนองคาย ทุกวัน ติดตอสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 223-7010, 223-7020
เครื่องบิน สามารถไปได้โดยลงที่สนามบินจังหวัดอุดรธานี จากนั้นต่อรถเข้าจังหวัดหนองคายอีก 51 กิโลเมตร รายละเอียด สอบถามได้ที่ บริษัทการบินไทย จํากัด โทร. 280-0060,628-2000
ระยะทางจากตัวจังหวัดหนองคาย ไปยังอําเภอต่างๆ อำเภอเมืองหนองคาย - อําเภอท่าบ่อ ระยะทาง 42 กิโลเมตร อำเภอเมืองหนองคาย - อําเภอโพนพิสัย ระยะทาง 45 กิโลเมตร อําเภอศรีเชียงใหม่ ระยะทาง 57 กิโลเมตร อําเภอโซ่พิสัย ระยะทาง 90 กิโลเมตร อําเภอปากคาด ระยะทาง 90 กิโลเมตร อําเภอสังคม ระยะทาง 95 กิโลเมตร อําเภอบึงกาฬ ระยะทาง 136 กิโลเมตร อําเภอพรเจริญ ระยะทาง 182 กิโลเมตร อําเภอเซกา ระยะทาง 228 กิโลเมตร อําเภอบึงโขงหลง ระยะทาง 238 กิโลเมตร กิ่งอําเภอศรีวิไล ระยะทาง 163 กิโลเมตร กิ่งอําเภอบุ่งคล้า ระยะทาง 181 กิโลเมตร กิ่งอําเภอสระใคร ระยะทาง 24 กิโลเมตร
ระยะทางจากจังหวัดหนองคาย ไปยังจังหวัดใกล้เคียง จังหวัดหนองคาย - จังหวัดอุดรธานี ระยะทาง 51 กิโลเมตร จังหวัดหนองคาย - จังหวัดเลย ระยะทาง 202 กิโลเมตร จังหวัดหนองคาย - จังหวัดสกลนคร ระยะทาง 210 กิโลเมตร จังหวัดหนองคาย - จังหวัดนครพนม ระยะทาง 303 กิโลเมตร
งานอนุสาวรีย์ปราบฮ้อ จัดประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี ที่บริเวณอนุสาวรีย์ปราบฮ้อ ภายในงานจะมีการแสดงและการละเล่นมีการออกร้านจําหน่ายสินค้าราคาถูก
งานตรุษสงกรานต์ จัดในช่วงวันสงกรานต์ของทุกปี ที่บริเวณวัดโพธิ์ชัย ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใส พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดหนองคาย มีการอัญเชิญหลวงพ่อพระใส และพระพุทธรูปสําคัญจากวัดต่างๆ เขาขบวนแห่รอบตัวเมืองเพื่อให้ประชาชนได้สรงน้ำและนมัสการ และมีการออกร้านค้าจําหน่ายสินค้าพื้นเมืองราคาถูก
งานบุญบั้งไฟ ในช่วงเดือน6(พฤษภาคม)ของทุกปี เป็นการแข่งขันบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถนหรือเทวดาเพื่อขอฝน งานวัดที่บริเวณวัดโพธิ์ชัยสวนบริเวณที่จุดบั้งไฟจะจัดที่สนามห่างจากวัดโพธิ์ชัยไปประมาณ 10 กิโลเมตร
งานแห่เทียนพรรษา เป็นงานประจําปีของจังหวัด ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา โดยหล่อเทียนพรรษาและประดับตกแต่งเทียนอย่างสวยงาม มีการจัดขบวนแห่ประกวดกัน
งานตักบาตรเทโวและแข่งเรือมิตรภาพ ไทย-ลาว จัดขึ้นในเทศกาลออกพรรษาของทุกปี โดยในช่วงเช้าประชาชนจะมาร่วมกันตักบาตร ในช่วงกลางวันจะมีการแข่งเรือยาวในลําน้ำโขง ระหว่างไทยและลาวโดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ