ภูเก็ต เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร ความยาวสุดของเกาะภูเก็ต วัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ 47.8 กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออก ถึงทิศตะวันตก ประมาณ 21.3 กิโลเมตร
การเดินทาง ทางรถยนต์ เริ่มต้นจากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรีปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 4 โดยตลอด ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร อําเภอกระบุรี อําเภอเมือง อําเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง อําเภอคุระบุรี อําเภอตะกั่วป่า อําเภอเมือง อําเภอตะกั่วทุ่ง บ้านโคกกลอย จังหวัดพังงา ข้ามสะพานท้าวเทพกษัตรีย์ หรือสะพานสารสิน เข้าจังหวัดภูเก็ต รวมระยะทาง 862 กิโลเมตร
ทางรถประจําทาง มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ไปภูเก็ตทุกวัน สอบถามได้ที่ โทร.435-1200,434-7192 สถานีขนส่งภูเก็ตโทร. (076) 211480
ทางรถไฟ ไมมีบริการรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปภูเก็ตโดยตรง ผู้ที่ประสงค์จะเดินทางโดยรถไฟต้องไปลงที่สถานีรถไฟพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วต่อรถประจําทางเข้าจังหวัดภูเก็ต สอบถามรายละเอียดได้ที่หน่วยบริการเดินทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 223-7010, 223-7020
ทางเครื่องบิน บริษัทการบินไทย จํากัด จัดเที่ยวบินกรุงเทพฯ - ภูเก็ตทุกวัน รายละเอียดติดต่อได้ที่ โทร. 280-0060, 628-2000 บริษัทการบินไทยภูเก็ต โทร. (076) 211195, 212499, 212946 บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จํากัด จัดเที่ยวบินกรุงเทพฯ - อู่ตะเภา - ภูเก็ต - และกรุงเทพฯ - สมุย - ภูเก็ต ทุกวัน รายละเอียดติดต่อ โทร. 229-3456-63 ภูเก็ต โทร. (076) 212341,225033-5
งานท้าวเทพกษัตรีย์-ท้าวศรีสุนทร ตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี มีการจัดงานเฉลิมฉลอง มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพื่อรําลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถปกป้องเมืองถลาง ให้รอดพ้นจากข้าศึกพม่า และสดุดีในวีรกรรมของท่าน
เทศกาลอาหารทะเล จัดขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี มีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่อาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ต ชักชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวภูเก็ตในฤดูฝน กิจกรรมของงานมีการประกวดขบวนแห่ทรัพยากรท่องเที่ยวทางทะเล การออกร้านจําหน่ายอาหารทะเล การสาธิตอาหารประจําภาค การแสดงศิลปวัฒนธรรมของภาคต่างๆ
เทศกาลกินเจ กําหนดจัดในวันข้นน 1-9 ค่ำ เดือน 9 ของจีนจะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี ระหว่างถือศีลกินผัก ชาวบ้านจะไปรับอาหารจากศาลเจ้า มีพิธีกรรมตามความเชื่อ เช่น ลุยไฟ ไต่บันไดมีด ฯลฯ มีการแห่เจ้าไปตามถนนต่างๆ โดยชาวบ้านสองฝั่งถนนจะจุดประทัดเสียงอึกทึกไปตลอดสาย ประเพณีกินเจนี้ ถือว่าเป็นการอุทิศความดีให้กับพระและเทวดาฟ้าดินเพื่อให้พระคุ้มครองชาวภูเก็ต และเกาะภูเก็ตตลอดไป
งานประเพณีปล่อยปลา ตรงกับวันที่ 13 เมษายนหรือวันสงกรานต์ของทุกปี กรมประมงได้กําหนดให้เป็นวันประมงแห่งชาติ มีประเพณีปล่อยลูกเต่าลงทะเลโดยจะจัดงานในบริเวณหาดต่างๆ ในภูเก็ต
งานประเพณีลอยเรือชาวเล จะมีพิธีในกลางเดือน 6 และ 11 ของทุกปี โดยกลุ่มชาวเลที่หาดราไว และบ้านสะป่าจะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 13 ค่ำ และกลุ่มชาวเลที่แหลมหลา (ทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ต) จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งถือเป็น พิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวเลคล้ายกับพิธีลอยกระทงของชาวไทย มีการสร้างเรือจากไม้ระกํา ตัดผมตัดเล็บ และทําตุ๊กตาไม้แทนคนใส่ลงไปในเรือ แล้วนําไปลอยเพื่อนําเอาความทุกข์โศก เคราะห์ร้ายต่างๆ ออกไปกับทะเล แล้วมีการร่ายรํารอบเรือ หรือที่เรียกว่า "รําร้องเง็ง" นั่นเอง
งานผ้อต่อ เป็นงานประเพณีของชาวภูเก็ตท่ขมีเช่ขอสายจีน จะมีพิธีในช่วงเดือน 7 ของจีน หรือเดือน 9 ของไทย โดยมีพิธีเซ้นไหว้บรรพบุรุษและวิาณศักดิ์สิทธิ์ด้วยเครื่องบวงสรวง เป็นขนมชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งเป็นรูปเต่าขนาดใหญ่บางเล็กบางทาสีแดง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ดังนั้นการไหว้เต่า จึงเป็นการต่ออายุให้ตนเอง และถือเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่
เทศกาลเปิดฤดูกาลท่องเที่ยว จังหวัดภูเก็ต ตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายน โดยเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี 2528 ณ หาดป่าตอง เพื่อต้อนรับฤดูการท่องเที่ยวที่เวียนมาถึงอีกครั้ง และเป็นการส่งเสริมความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสาขาต่างๆ หน่วยงานราชการและประชาชนในงานมีกิจกรรมต่างๆมากมายอาทิ พิธีตักบาตรในตอนเช้า การแข่งขันกีฬาทางน้ำ การประกวดสาวงามจากนักท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น
งานแข่งขันเรือใบชิงถ้วยพระราชทาน เริ่มมีขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2530 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ และหลังจากนั้นจึงถือกําหนดจัดงานขึ้นในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษาซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี โดยมีเรือใบจากนานาประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขันบริเวณหาดในหานเพื่อชิงถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ภูเก็ตมีอาหารพื้นเมืองทั้งคาวหวานมากมายหลายชนิด มีรูปแบบวิธีการปรุงและรสชาติที่มีเอกลักษณเป็นของตัวเอง สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาลิ้มลองรสชาติ และซื้อกลับไปเป็นของฝากเสมอ อาหารเหล่านี้ได้แก่ ขนมจีนภูเก็ต นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า มีน้ำแกงให้เลือกหลายประเภท เช่น น้ำซุป น้ำยา แกงไตปลา โดยรับประทานกับผักนานาชนิดพร้อมทั้งไข่ต้ม ปาท่องโก๋ และห่อหมก เต้าซ้อ หรือขนมเปี๊ยะภูเก็ต น้ำซุปภูเก็ต เป็นน้ำพริกกะปิน้ำใสๆ ใส่ก้ำงสด หัวหอม พริก และมะนาว รับประทานกับข้าวหรือขนมจีน น้ำพริกกุงเสียบ เป็นน้ำพริกแห้งตํากับกุงเสียบ รับประทานคู่กับผักสดต่างๆ โลบะ เป็นเครื่องในหมูปรุงกับเครื่องพะโล้ นํามาทอด รับประทานกับเต้าหู้ทอดราดน้ำจิ้ม หมี่ฮกเกี้ยน เป็นเส้นหมี่เหลืองผัดซีอิ๊ว หมี่หุ้นปาฉ่าง เป็นเส้นหมี่แห้งรับประทานกับน้ำต้มกระดูก หมี่สั่ว เป็นอาหารเช้าของชาวภูเก็ต จะขายพร้อมกับข้าวต้ม หรือโจ๊ก โอเต๊า ลักษณะคล้ายกับหอยทอดภาคกลาง ใช้หอยนางรม ผัดกับแป้ง เผือก และไข่ โอ๊ะเอ๋ว เป็นของหวานคล้ายวุ้นน้ำเชื่อมใส่น้ำแข็ง ทํามาจากกล้วยน้ำว้าผสมกับสาหร่ายทะเลชนิดหนึ่ง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ต้นมะม่วงหิมพานต์เป็นต้นไม้พื้นเมือง ที่นิยมปลูกกันมากในภูเก็ต ดังนั้นเม็ดมะม่วงหิมพานต์จึงถือเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอย่างหนึ่งที่นิยมซื้อกันเป็นของฝากทั้งในรูปอบแห้ง ทอด ฉาบ และอื่นๆ สับปะรดภูเก็ต เป็นสับปะรดพันธุ์พื้นเมืองที่มีรสชาติ หวานกรอบ อร่อย ต่างกับสับปะรดที่อื่น หาซื้อได้ที่ตลาดสดทั่วไป
สินค้าที่ระลึก นอกจากอาหารพ้กนเมืองแล้ว ภูเก็ตยังมีสินค้าท่สระลึกอื่นๆ อีก อาทิ ผลิตภัณฑ์ที่ทําจากทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล เครื่องดีบุก เครื่องเขิน เครื่องหวาย ผ้าไหม เป็นต้น ซึ่งจะมีแหล่งร้านขายสินค้าที่ระลึกในตัวเมือง บริเวณถนนรัษฎา ถนนพังงา ถนนมนตรี เป็นต้น หรือบริเวณหาดต่างๆ อาทิ หาดราไว แหลมพรหมเทพ หาดกะตะ หาดกะรน หาดป่าตอง หาดสุรินทร์ เป็นต้น